วันเหมายัน (Winter Solstice) กับเรื่องของสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

Last updated: 23 ก.ค. 2563  |  2345 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วันเหมายัน (Winter Solstice) กับเรื่องของสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

วันเหมายัน (Winter Solstice) กับเรื่องของสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

วันนี้ (22 ธ.ค.) เป็นวันเหมายัน (เห-มา-ยัน) ซึ่งเป็นวันที่ช่วงกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศในแถบซีกโลกเหนือถือให้เป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า ในวันที่ 22 ธ.ค. ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงกลางวันสั้นและช่วงกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี หรือเราเรียกว่า วันเหมายัน (Winter Solstice) เป็นคำภาษาสันสกฤต ส่วนประเทศไทยจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ตะวันอ้อมข้าว"

สำหรับสถานที่อันโด่งดังที่เกี่ยวข้องกับวันเหมายันนี้คงจะหลีกเลี่ยงกองหินยักษ์โบราณไม่ได้ ที่นั่นคือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ที่ประเทศอังกฤษ ที่นี่มีคนจำนวนมากทั้งนักท่องเที่ยว รวมทั้งกลุ่มผู้ที่เชื่อในเรื่องภูตผี จิตวิญญาณ เทพเจ้า และธรรมชาติ ไปชุมนุมกันที่สโตนเฮนจ์ อนุสรณ์สถานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทางตอนใต้ของประเทศ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

สาเหตุที่โด่งดังมายาวนานนั้นคือ ในวันเหมายัน (Winter Solstice)นี้ จะเกิดปรากฏการณ์แสงลอดผ่านช่องของสโตนเฮนจ์อย่างสมบูรณ์แบบ สร้างความสวยงามอย่างมากต่อผู้พบเห็น และเกิดขึ้นตรงกับวันเหมายันของทุกปี



เรามารู้จักกับ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ให้มากขึ้นนะครับ

สโตนเฮนจ์ ตั้งอยู่กลาง “ทุ่งราบซัลลิสเบอร์รี่” (Salisbury Plain) บริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเพราะบริเวณโดยรอบนั้นไม่มีสิ่งปลูกสร้างอื่นใดเลย มีจำนวนแท่งหินทั้งหมด 112 ก้อน ตั้งเรียงเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง และวางเรียงในลักษณะที่ต่างกัน ทั้งวางนอน วางพาดกัน และวางตั้งขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณอายุของหินกลุ่มนี้ พบว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 3,000–2,000 ปีก่อนคริสตกาลนู่นเลย สรุปคืออายุกว่า 5,000 ปีแล้ว

การก่อสร้างสโตนเฮนจ์ ใช้เวลาสร้างต่อเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะ ในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี คำนวนจากการที่หินแต่ละก้อน แต่ละชั้นมีอายุไม่เท่ากัน มาจากต่างยุคกัน ตั้งแต่ยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้น สิ่งที่น่าสงสัยคือ บริเวณที่ราบดังกล่าวไม่มีก้อนหินขนาดมหึมานี้อยู่เลย ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือมาจาก “ทุ่งมาร์ลโบโร” (Marlborough Downs) ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร และยังมีหินสีน้ำเงินหนักสี่ตัน ซึ่งพบได้บริเวณภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์ (สันนิษฐานว่า ใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก)



เรื่องน่าพิศวงต่อมา คือ คนในยุคนั้นเขาเอาอะไรมายกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน แถมยังต้องลากมาจากสถานที่อื่นอันห่างไกล ดูแล้วสมัยนั้นไม่น่ามีเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน? ยังไม่รวมถึงเรื่องที่ต้องนำหินมาขัดแต่งให้มีความเหลี่ยม ความมน มีสลัก และเดือยซึ่งจะทำให้หินพาดกันได้อย่างพอดี มีความมั่นคง กล่าวกันว่าเป็นฝีมือของมนุษย์ต่างดาวที่มาเยือนโลก โดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยในการสร้าง บ้างก็ว่าเป็นผลงานศิลปะของยักษ์ในยุคก่อน

สุดท้ายก็ยังไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้าง มีข้อสันนิษฐานมากมาย ยกตัวอย่างที่มีคนพูดถึงกันมาก เช่น

1.ผู้คนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เชื่อว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ แค่แนวความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู

2.ใช้เป็นสถานที่รักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและดนตรีจากมหาวิทยาลัยฮัดเดอร์ฟิลด์ค้นพบว่า แท่งหินมหึมาที่ตั้งตระหง่านเป็นวงกลมเหนือเนินดินสามารถสะท้อนเสียงได้อย่างวิเศษ นักวิจัยคาดว่าดนตรีที่เล่นกันบริเวณสโตนเฮนจ์คงเป็นเพลงที่มีจังหวะธรรมดาซ้ำๆ และให้สะท้อนก้องอยู่ในบริเวณนั้น ตรงกันกับเทคโนโลยีกลศาสตร์นาโน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีช่วยปรับปรุงงานวิจัยด้านการแพทย์ ด้านการผ่าตัด การผลิตอาหาร และเชื้อเพลิง

3.สร้างเพื่อศึกษาด้านดาราศาสตร์ สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา เป็นเครื่องคำนวญยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้องต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้งสิ้น

4.เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพ และเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความตายของกลุ่มชนชั้นสูงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์โบราณฝังอยู่ในบริเวณดังกล่าว ตั้งแต่ประมาณเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่สโตนเฮนจ์เริ่มถูกสร้างขึ้น และคาดว่าน่าจะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพสำหรับชนชั้นสูงในสมัยยุคหินยาวนานต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่า 500 ปี อย่างไรก็ดี แม้ผลการพิสูจน์โครงกระดูกที่ถูกขุดมาจากบริเวณสโตนเฮนจ์จะบ่งชี้ว่าสโตนเฮนจ์ถูกใช้เป็นสุสาน ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นคือจุดประสงค์แรกมนุษย์ยุคก่อนสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมา

ถึงทฤษฎีทั้งหลายในปัจจุบัน จะสามารถพิสูจน์ได้เป็นเหตุเป็นผล มีหลักฐาน มีตัวเลขสถิติสนับสนุนว่าเป็นความจริง แต่ก็ยังไม่มีทฤษฎีไหนเลยที่จะไขปริศนาอันลึกลับดำมืดของ สโตนเฮนจ์ ได้อย่างกระจ่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า ใครเป็นผู้สร้าง? และสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดกันแน่

ที่มา : wikipidia,manager,komchadluek,history,nationalgeographic, http://travel.truelife.com

 

ติดต่อซินแสปรึกษาฮวงจุ้ย แบบออนไลน์ , ดวงชะตาชีวิต , ฤกษ์ยามสำคัญ

โทร : 096-9245655 083-2286832 (ซินแสอาณัติ)

 Line : ddmartgroup  https://line.me/ti/p/g1IOYP-S9E

---------------------------------------------
ขอเชิญท่านเข้ากลุ่ม Facebook "ตรวจดวงฟรี ทำเพื่อสังคม" https://www.facebook.com/groups/sinsaearnut/
ภายในกลุ่มซินแสอาณัติจะโพสเกี่ยวกับ ดูดวงวันนี้ (ตั้งดวงชะตาเพื่อทราบธาตุเบื้องต้น) ปฏิทินพลังงานฤกษ์ยามของจีนไว้ วันใดดี วันใดร้าย ของแต่ละเดือน วันไหนเหมาะสมกับใคร , ฤกษ์เทียงกัวกุ้ยยิ้ง , ฤกษ์ฮี๊ซิ้ง และอื่นๆ
พร้อมคำทำนายประจำเดือนของบุคคลแต่ละธาตุ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
รวมถึงบทความฮวงจุ้ยล่าสุดก่อนใครทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

Powered by MakeWebEasy.com